บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น
บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ในช่วงหนึ่งอาจจะดูเชย ดูเก่า ทำให้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างตกยุค แต่อย่างที่เราทราบดีว่าเทรนด์ในการสร้างบ้านสามารถวนกลับมาฮิตใหม่ได้เสมอ เพียงแต่อาจจะถูกนำเสนอในมุมมองใหม่ๆ ตามสายตาของคนในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อ่านเพิ่มเติม : assetdata.land
ซึ่งเรามองมาเป็นสิ่งที่ดี เพราะการผสมผสานระหว่างใหม่กับเก่าที่เดินไปคู่กัน ทำให้สิ่งที่เคยมีในอดีตจะยังคงอยู่ไม่เป็นงานที่ตายไปแล้ว เหมือนเช่นบ้านสไตล์โรงนาในชนบทห่างไกลของประเทศทางซีกโลกตะวันตก ที่ดูต่างจากอาคารหรูหราในเมือง เมื่อนำมาปรับประยุกต์กลับเป็นบ้านที่อบอุ่น น่าอยู่ และดูโมเดิร์นร่วมสมัย
Briarcliff เป็นชื่อโครงการบ้านนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ชนบทขนาด 3.5 เอเคอร์ (ประมาณ 8.8 ไร่) ในย่านประวัติศาสตร์แฟรงคลิน รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาปนิกสร้างความสมดุลระหว่างรูปแบบและด้านหน้าที่เรียบคมสง่างาม กับการตกแต่งภายในที่ดูมีสีสันขี้เล่น เพื่อให้เหมาะสำหรับครอบครัวส่วนตัวที่หลงใหลในดนตรีและโรงละคร โดยการออกแบบของบ้านได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบคลาสสิกของฟาร์มในชนบทของมิชิแกน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลังคาทรงจั่วที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ให้ออกมาทันสมัยแบบบ้านนอร์ดิกที่กำลังฮิตบ้านต้นไม้
Modern Barn จากโรงนาในชนบทมาสู่บ้านโมเดิร์น

รูปแบบที่คุ้นเคยเหล่านี้เชื่อมโยงบ้านเข้ากับบริบททางประวัติศาสตร์ แต่ได้รับการถ่ายทอดด้วยเทคนิคการก่อสร้างและวัสดุสมัยใหม่และรายละเอียดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ด้านนอกใช้ไม้ซีดาร์ลายไม้แนวตั้ง หลังคาแต่ละหลังเป็นเมทัลชีทสีดำ สีที่แตกต่างและเส้นที่คมชัดเน้นให้เห็นความสูงและความสว่าง ในส่วนด้านบ้านที่ต่ำและกว้างถูกหุ้มด้วยแผงไฟเบอร์ซีเมนต์ความหนาแน่นสูง การเรียงตัวอาคารสลับแนวตั้งกับแนวนอน ผลรวมที่ได้นอกจากช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็สนุกกับการเดินข้ามจากอาคารหลังหนึ่งไปอีกหลังที่พักป่าตอง
อาคารแผ่นไม้ซีดาร์มีส่วนทำให้บ้านดูผสานเข้ากับภูมิทัศน์ หลังคาแบนเหนือโถงทางเดินกระจกที่เชื่อมถึงกันยังปูด้วยหญ้าพื้นเมืองด้วย ทุกครั้งที่เดินผ่านจึงไม่รู้สึกร้อน หากสังเกตจากภาพถ่าย Bird eye’s view จะเห็นว่าการจัดตำแหน่งบ้านจะพยายามรบกวนต้นไม้น้อยที่สุด โดยเฉพาะต้น American Elm อายุกว่า 100ปี และต้น Climbing Hydrangea แต่ละโซนได้รับการจัดวางอย่างระมัดระวังโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดแรง มุมแสงแดดตามฤดูกาล และความสมดุลของความเป็นส่วนตัวและมุมมอง เพื่อการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างรูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัย การตกแต่งภายในที่อบอุ่น และธรรมชาติโดยรอบ
ฟังก์ชั่นของบ้านถูกแยกออกเป็นสี่อาคารที่แตกต่างกัน เพื่อให้แยกระหว่างโซนส่วนตัวและส่วนรวมอย่างชัดเจน ได้แก่ 1) ห้องชุดห้องนอนหลัก 2) พื้นที่การใช้ชีวิตและความบันเทิง 3) พื้นที่ครอบครัวส่วนตัว และ 4) โรงจอดรถ โดยพาวิลเลียนที่ยาวที่สุด (นั่งเล่นและเอนเตอร์เทนนิ่ง) จะอยู่ตรงกลางทอดยาวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านของที่พักแบบไม่ขาดตอน โดยมีกระจกบานใหญ่ที่หันไปทางพื้นที่ชุ่มน้ำด้านหลัง
ในอาคารใช้งานสาธารณะตรงกลาง เป็นเหมือนศูนย์กลางที่ทุกคนจะเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกัน ถูกออกแบบให้เป็นเหมือนห้องโถงยาวหลังคาจั่วสูงตีฝ้าเพดานตามแนวหลังคา โชว์เส้นสายของเหล็กสีดำตกแต่งที่ทำให้รู้สึกถึงพื้นที่จากพื้นถึงเพดานที่ชัดเจนขึ้น ปลายด้านหนึ่งเป็นห้องนั่งเล่น โต๊ะทานข้าว มีเตาไฟที่หุ้มด้วยไม้ซีดาร์ย้อมสีน้ำตาลเข้มและเหล็กทำสีดำ และตรงข้ามกันคือห้องครัวที่มีตกแต่งด้วยไม้วอลนัท เคาน์เตอร์สแตนเลส ผนังกันเปื้อนลายหิน ข้างๆ มีแผงผนังทายูรีเทนสีเขียวมรกต

ด้านหนึ่งของตัวบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจากถนนจะทำผนังทึบมีช่องแสงแนวนอนในมุมสูง เน้นเพื่อรับแสงไม่ได้เน้นเปิดมุมมอง ส่วนของผนังยังสร้างประโยชน์ได้ด้วยการบิลท์ม้านั่งและชั้นวางเป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบของบ้านได้สูงสุด ในอีกด้านของบ้านที่เชื่อมต่อกับสวน สระว่ายน้ำ จะเป็นประตูกระจกตลอดทั้งแนว เชื่อมต่อพื้นที่ชีวิตภายนอกภายในให้เหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของบุคคลภายนอก
จากส่วนนี้เราจะเห็นว่าภายในบ้านมีการใช้ทั้งชุดสีที่เชื่อมต่อกับธรรมชาติ อย่างสีของไม้ต่างชนิด สีของผนัง แต่ก็จะมีส่วนผสมของสีสันเข้ามาเพิ่มความมีชีวิตชีวา เช่น ผ้าม่านโทนสีนำเงินและสีเขียวเหลือบสลับสีอ่อน พรมปูพื้นสีขาวดำ ผนังตกแต่งกรอบรูป Abstract Art ที่ทำให้รู้สึกว่าบ้านสไตล์โรงนาไม่ได้ดูจืดชืดหรือต้องตกแต่งด้วยความรู้สึกแบบชุมชนเกษตรกรรมเท่านั้น
เติมความน่าสนุกขึ้นอีกขั้นด้วยการใช้พรมสีรุ้งผืนใหญ่บนพื้นข้างหน้าต่าง และตรงบันไดขึ้นสู่ชั้นสอง ในห้องน้ำใหญ่ยังเต็มไปด้วยกระเบื้องรูปห้าเหลี่ยมโทนสีเขียวใบไม้ทั้งพื้นและผนัง ขณะที่กำลังอาบน้ำจะรู้สึกเหมือนกำลังถูกโอบล้อมด้วยต้นไม้ที่เขียวชอุ่มรอบตัว
แม้จะตกแต่งบ้านด้วยความสนุกของสีสัน แต่ถ้ามากเกินไปจะรู้สึกไม่สบายตา สถาปนิกจึงมีจังหวะเบรคความรู้สึกอยู่ด้วย เช่น ในมุมนั่งเล่นนอนเล่นพักผ่อนริมหน้าต่างที่ใช้ชุดสีกลางๆ อ่อน ๆ ให้เหมาะกับบรรยากาศของความผ่อนคลาย และห้องน้ำโทนสีขาวตัดเส้นสีดำ สร้างสมดุลของบ้านที่มีครบทุกอารมณ์ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป
บ้านโรงนา รูปแบบใหม่ของบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น

สาเหตุที่ทางฝั่งต่างประเทศนิยมซื้อโรงนาเก่ามารีโนเวทใหม่ให้เป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น เนื่องจากง่ายต่อการตกแต่งอย่างมาก แถมยังใช้งบประมาณค่อนข้างน้อย ที่สำคัญด้วยเอกลักษณ์ที่มีเพดานสูง พร้อมเปิดโล่งให้เห็นคานไม้ คล้ายคลึงกับสไตล์ Loft นั้น ทำให้เพิ่มความหรูหราให้กับบ้าน
ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วแบบบ้านสไตล์ดังกล่าว ผู้อยู่อาศัยมักเลือกของตกแต่งที่ทำจากไม้ และมีกลิ่นอายโมเดิร์น เพื่อให้เข้ากับตัวบ้าน เรียกได้ว่าเป็นไอเดียสุดว้าวเลยทีเดียว
ข้อดี-ข้อเสียของการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น
เนื่องจากการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์นนั้นจะมีการผสมผสานเอกลักษณ์ดั้งเดิมกับโมเดิร์นเข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อคิดที่จะปลูกบ้านดังกล่าว จึงควรรู้ถึงข้อดี ข้อเสีย เพื่อทำความเข้าใจกับบ้าน จะได้ดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

ข้อดีของการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นแบบบ้านโมเดิร์น
1. เป็นบ้านที่ทำจากวัสดุไม้ จึงทำให้ตัวบ้านเย็น มีความแข็งแรง
2. หลังคาทรงจั่วทำให้บ้านดูโปร่งมากขึ้น ถ่ายเทอากาศได้ดี
3. ผนังอิฐ เฟอร์นิเจอร์ไม้ รวมถึงคานเปิดโล่ง ทำให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสถึงความอบอุ่นในบ้าน
ข้อเสียของการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นแบบบ้านโมเดิร์น
1. เมื่อวัสดุทั้งหมดเป็นไม้ ดังนั้นจึงควรฉีดปลวก และป้องกันแมลงมากเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้ไม้ผุ สึกกร่อนได้ และนั่นจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ตามมา
2. เมื่อทำการต่อเติมเพิ่ม จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นวัสดุไม้ ซึ่งมีราคาแพงกว่าปกติ
3. ไม่เหมาะกับพื้นที่ราบลุ่ม เสี่ยงต่อการน้ำท่วมอย่างมาก
เรียกได้ว่าเป็นไอเดียแบบบ้านใหม่ ที่ถูกใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังต้องการซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน และมีเรื่องดีไซน์เป็นตัวประกอบหลักของการตัดสินใจ แม้เมืองไทยจะพบเห็นน้อย แต่อาจจะมีบ้างตามโซนต่างจังหวัด แต่ถึงกระนั้นก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างบ้านในฝันได้ รับรองว่าเก๋ไก๋ ไม่เหมือนใครแน่นอน