Archives มกราคม 2023

บ้านต้นไม้

บ้านต้นไม้

บ้านต้นไม้

บ้านต้นไม้

บ้านต้นไม้ หลาย ๆ ประเทศที่กำลังพัฒนา มักประสบปัญหาการขยายตัวของเมืองที่กลืนธรรมชาติให้หายไป เมืองใหญ่ๆ ในเวียดนามก็กำลังสูญเสียพื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์เดิม ๆ กลายเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและมลพิษทางอากาศที่รุนแรงในเขตเมือง

ส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่คนรุ่นใหม่ของเวียดนามขาดการเชื่อมต่อกับธรรมชาติอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จากงานนี้สถาปนิก VTN Architects (Vo Thi Nghia Architects) จึงพัฒนาโครงการบ้าน “House for Trees” เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวภายในเขตความหนาแน่นประชากรสูง ล่าสุดในซีรีส์ Stacked Planters House มุ่งมั่นที่จะนำความเขียวกลับไปในเมืองและสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติให้มากขึ้นครับ พูลวิลล่าจันทบุรี ติดทะเล

Planters House ให้บ้านเป็นกระถาง ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา

บ้านกับธรรมชาติยิ่งใกล้ชิดยิ่งดีต่อผู้อยู่อาศัย บ้านพื้นที่แคบ ๆ ในเมืองใครว่าจะอยู่ร่วมกับต้นไม้ไม่ได้ ในเมื่อไม่มีพื้นที่ราบเหลือด้านข้าง ก็นำต้นไม้มาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเสียเลย ตัวอย่างเช่น บ้านหลังนี้ในนครโฮจิมินห์ เป็นอาคารสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 260 ตร.ม ออกแบบมาสำหรับครอบครัวต่างเจเนอเรชั่นสามรุ่น

สถาปนิกแยกฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นที่แบบส่วนตัวและส่วนรวม พื้นที่ส่วนตัวจะอยู่ในกล่องคอนกรีตที่ดูเหมือนวางซ้อนกันไปมา ระหว่างกล่องคอนกรีตจะมีช่องว่างทำระเบียงมีสวนเล็ก ๆ เจาะเพดานเปิดสู่ท้องฟ้าให้ต้นไม้เติบโตได้ พื้นที่กึ่งนอกอาคารนี้จะติดกับห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหารที่เป็นศูนย์กลางรวมสมาชิกในบ้านให้มาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน

บ้านต้นไม้

จากภาพการจำลองอาคารจะเห็นได้ว่า บางส่วนของอาคารสร้างครอบต้นไม้เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้วโดยที่ไม่ได้ทำการตัดทิ้ง ต้นไม้บางส่วนก็จัดพื้นที่ปลูกใหม่ในตัวบ้าน โดยเจาะช่องเพดานรับและเว้นช่วงจังหวะบางจุดของอาคารให้ต้นไม้ที่ปลูกไว้สามารถเติบโตได้ เมื่ออยู่ในอาคารจะเห็นว่าบ้านมีต้นไม้อยู่ใกล้ชิดรอบ ๆ และมีพื้นที่ว่างให้บ้านได้หายใจ ต้นไม้ยังช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศ ฝุ่น ควัน ทำให้สภาพอากาศในอาคารดีขึ้น พร้อม ๆ กับให้ร่มเงากับตัวบ้านได้ด้วย

“House for Trees” ให้ความสำคัญกับการนำวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุธรรมชาติมาใช้ สิ่งที่ทำให้โครงการนี้ดูพิเศษขึ้นนอกจากปูนเปลือย หิน ต้นไม้ แล้วยังมี “ผนังหินขัด” ซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมในช่วงทศวรรษที่ 80 แต่ก็ถูกลืมไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาห้องนั่งเล่นตกแต่งเรียบง่าย เลือกใช้โทนสีดำ-เทา ขาว

ให้เกิดสมดุลทั้งวัสดุโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ วัสดุหลักเป็นคอนกรีต เพิ่มความอบอุ่นลดทอนความแข็งกระด้างของปูนเปลือยด้วยผนังไม้ในบางจุด ภาพรวมเน้นเรื่องความปลอดโปร่งโล่งสะอาดตา การเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอก (Indoor-Outdoor) ด้วยการเปิดผนังบ้านได้กว้างในทุกด้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยได้รับทั้งบรรยากาศของธรรมชาติ และช่วยเรื่องการระบายความร้อน ด้านข้างอาคารเป็นสระน้ำ ในห้องนั่งเล่นจึงรับไอเย็นของน้ำเข้าไปเพิ่มความสบายได้อีก

พื้นที่นั่งเล่นเป็นห้องกระจกติดระเบียง ชมวิวเมือง รับความสดชื่นจากต้นไม้การสร้างพื้นที่สีเขียวในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำสวนแนวตั้ง สวนบนดาดฟ้า การปลูกพืชผักในบ้าน หรือการแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งของบ้านปลูกต้นไม้  ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำให้บ้านน่าอยู่และมีชีวิตชีวามากขึ้น

      เชื่อเหลือเกินว่าตอนเด็กๆ คงมีใครหลายคนฝันอยากมีบ้านอยู่บนต้นไม้ ตามเทพนิยายหรือการ์ตูนที่ได้ดู และสุดท้ายมันก็กลายเป็นเพียงความฝันลมๆ แล้งๆ ด้วยความคิดที่ว่าบ้านแบบนั้นไม่มีอยู่จริงหรอก แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไป อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ เดี๋ยวนี้เราสามารถสร้างบ้านบนต้นไม้ได้แบบเทพนิยายเลยทีเดียว นับเป็นอีกหนึ่งไอเดียเด็ดของการอยู่อาศัย ที่น่าจะถูกใจคนพูดถึง ข้อสรุปสิ่งควรรู้ก่อนสร้างบ้านต้นไม้  สำหรับใครที่อยากรู้ว่าจะมีบ้านต้นไม้สักหลังต้องทำอย่างไร เรามีวิธีดังนี้ครับ

1. เลือกต้นไม้ที่เหมาะสม

      การเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างแรกที่ต้องคิดถึง ควรเป็นต้นที่มีความทนทาน เติบโตเต็มที่ ไร้โรค มีรากแก้วที่แข็งแรง นอกจากนี้ต้องไม่มีขน หนาม ยาง หรือผลที่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน รวมทั้งกิ่งไม่เปราะหรือหักง่าย ไม่ควรเลือกต้นไม้ที่แก่หรืออ่อนเกินไป

และไม่ควรนำต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูกมาทำบ้านต้นไม้ด้วย เพราะรากจะยึดติดกับดินได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากเป็นไปได้ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้เข้ามาตรวจสภาพต้นไม้นั้นก่อนก็จะดีที่สุดครับต้นไม้ที่จะใช้ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร (วัดจากตำแหน่งของลำต้นที่ต้องการจะสร้างบ้านต้นไม้) ขนาดกำลังดีของบ้านต้นไม้คือ 2.40 x 2.40 เมตร

บ้านต้นไม้

2. ต้นไม้อะไรไม่ควรสร้างบ้านต้นไม้

      สนอินเดีย ยางอินเดีย รักหลวง ต้นไม้เหล่านี้มียาง เปลือกของลำต้นก็มีพิษระคายเคืองผิวหนังคน ซึ่งหากยางเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้ นอกจากไม่ควรนำมาสร้างบ้านต้นไม้แล้ว ต้นไม้เหล่านี้ก็ไม่ควรอยู่ภายในพื้นที่ของบ้านด้วย เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในบ้าน

3. บ้านต้นไม้ต้องขออนุญาตก่อสร้าง หากต้องการขอติดตั้งระบบน้ำและไฟฟ้า

      หากต้องการขอติดตั้งระบบน้ำและไฟฟ้าภายในบ้านต้นไม้ การขออนุญาตก่อสร้างกับพื้นที่เขตที่สร้างเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่หากไม่ต้องการใช้น้ำและไฟฟ้า ก็จะเป็นเหมือนบ้านหลังเล็กที่เอาไว้ใช้พักผ่อนกับธรรมชาติ  จึงไม่ต้องขออนุญาต  แต่สิ่งที่ควรพิจารณาเองคือบ้านต้นไม้นั้นไม่ควรกินพื้นที่ของบ้านอื่น และการสร้างนั้นไม่ได้ทำเพื่อการพาณิชย์ครับ

4. แจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบก่อน 

      หากบ้านต้นไม้นั้นอยู่ใกล้เขตรั้วที่ติดกับเพื่อนบ้าน สิ่งที่ควรทำก่อนการออกแบบและก่อสร้างคือการแจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบ นอกจากจะแจ้งเชิงขออนุญาตกับเพื่อนบ้านแล้ว เราควรจะแจ้งกำหนดการและระยะเวลาที่จะสร้างด้วย เป็นการเคารพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อไป อันนี้ใช้ในกรณีที่ต้นไม้ที่เราจะสร้างมีพื้นที่ติดกับพื้นที่ของเพื่อนบ้านเท่านั้นนะครับ ถ้าไม่ติดก็สร้างได้เลย

5. คิดถึงโครงสร้างก่อน 

     สิ่งสำคัญของบ้านต้นไม้คือโครงสร้างที่แข็งแรง เมื่อเลือกต้นไม้ที่มีความแข็งแรงได้แล้ว ลำดับต่อมาคือการออกแบบโครงสร้างที่จะรับตัวบ้าน ซึ่งหลักๆมี 3 รูปแบบ คือ

      – แบบแขวนจากกิ่งกานลำต้นด้านบน แบบนี้ต้องมีกิ่งก้านด้านบนที่แข็งแรง ไม่เหมาะกับบ้านต้นไม้ที่ใช้งานบ่อยและรองรับน้ำหนักมากๆ  ในลักษณะนี้อาจะเลือกเป็นเฟอร์ฯที่ใช้ตกแต่งนอกสถานที่ ก็ดูเก๋ และไม่ยุ่งยากดีนะครับ

      – แบบค้ำยันจากลำต้น แบบนี้แข็งแรงและมีความซับซ้อนในการก่อสร้างน้อยที่สุด สามารถเสริมตัวค้ำยันได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ก็สร้างความเสียหายแก่ต้นไม้มากเช่นกัน 

      – แบบตั้งเสาขึ้นมาจากพื้น วิธีนี้จะยึดติดกับต้นไม้น้อยที่สุด เพราะมีเสาที่ตั้งขึ้นไปจากพื้นรองรับน้ำหนักแทน สุดท้ายแล้วเราจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของต้นไม้นั้นๆว่าเหมาะสมกับโครงสร้างแบบใดที่สุด

บ้านต้นไม้

6. ออกแบบบันไดขึ้นให้เหมาะสม 

      การจะขึ้นไปบนบ้านต้นไม้นั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นบันไดที่เดินขึ้นแบบปกติ หรือจะเป็นบันไดลิงที่นำมาพาดเฉพาะตอนที่มีการใช้งานก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าเป็นใคร ต้องการความสะดวกสบายในการเข้าถึงมากแค่ไหน 

7. ความปลอดภัยสำคัญที่สุด 

      บ้านต้นไม้ต้องอยู่บนต้นไม้ในตำแหน่งที่ไม่สูงมากนัก มีราวกันตกที่แข็งแรง หากผู้ใช้งานเป็นเด็ก ความสูงจากพื้นดินจนถึงพื้นบ้านต้นไม้ไม่ควรเกิน 180 เซนติเมตร ราวกันตกรอบบ้านและบันไดสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากเป็นไปได้พื้นด้านล่างควรโรยทราย หรือทำบ่อทราย เผื่อเวลาที่พลัดตกลงมาจะได้ไม่บาดเจ็บมาก

8. เริ่มด้วยโครงสร้างพื้น 

      เมื่อเริ่มสร้างบ้านต้นไม้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือพื้นของบ้าน และควรสร้างอย่างใจเย็น เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบ้าน ต้องรับน้ำหนักได้ดี แข็งแรง วัสดุพื้นอาจเป็นแผ่นไม้อัดที่ติดตั้งอยู่บนตงไม้เช่นกัน ความห่างของตงประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร และเมื่อทำพื้นเสร็จ เราก็สามารถขึ้นไปยืนบนพื้นเพื่อก่อสร้างส่วนต่างๆของบ้านได้อย่างสะดวกอีกด้วย

9. วัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุเบา 

      บ้านต้นไม้ต้องการโครงสร้างและวัสดุต่างๆที่มีน้ำหนักเบาที่สุด โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นโครงสร้างไม้ ผนังของตัวบ้านเป็นไม้อัดหรือแผ่นไม้สังเคราะห์ที่มีความหนาน้อยที่สุด เราอาจตัดวงกบประตูหน้าต่างทิ้ง และใช้แผ่นไม้อัดที่ติดตั้งบานพับเหมือนบานพับตู้เป็นส่วนของประตูและหน้าต่างแทน บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

10. มีบ้านต้นไม้ต้องดูแลมากกว่าปกติ 

ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรง พื้นไม้ โครงสร้าง หรือหลังคา ควรตรวจสอบว่ามีการชำรุดเสียหายจากการไหวตัวของต้นไม้หรือไม่ รวมถึงสัตว์มีพิษต่างๆ

      สำหรับบ้านต้นไม้อาจจะเหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่สักหน่อยนะครับ อาจจะเป็นบ้านพักต่างอากาศในต่างจังหวัด หรือถ้าอยู่ในเมืองแต่มีพื้นที่ก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่านำไปลองทำ ที่นอกจากจะสร้างสีสันให้กับบ้านแล้ว คิดว่าเป็นที่พักผ่อนอีกมุมหนึ่งที่เด็กๆในบ้านจะต้องชอบแน่ๆครับ  คลิ๊กที่นี่ : assetdata.land

บ้านโมเดิร์นติดสวนแนวตั้ง

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ในช่วงหนึ่งอาจจะดูเชย ดูเก่า ทำให้กลายเป็นสิ่งก่อสร้างตกยุค แต่อย่างที่เราทราบดีว่าเทรนด์ในการสร้างบ้านสามารถวนกลับมาฮิตใหม่ได้เสมอ เพียงแต่อาจจะถูกนำเสนอในมุมมองใหม่ๆ ตามสายตาของคนในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อ่านเพิ่มเติม : assetdata.land

ซึ่งเรามองมาเป็นสิ่งที่ดี เพราะการผสมผสานระหว่างใหม่กับเก่าที่เดินไปคู่กัน ทำให้สิ่งที่เคยมีในอดีตจะยังคงอยู่ไม่เป็นงานที่ตายไปแล้ว เหมือนเช่นบ้านสไตล์โรงนาในชนบทห่างไกลของประเทศทางซีกโลกตะวันตก ที่ดูต่างจากอาคารหรูหราในเมือง เมื่อนำมาปรับประยุกต์กลับเป็นบ้านที่อบอุ่น น่าอยู่ และดูโมเดิร์นร่วมสมัย

Briarcliff เป็นชื่อโครงการบ้านนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ชนบทขนาด 3.5 เอเคอร์  (ประมาณ 8.8 ไร่) ในย่านประวัติศาสตร์แฟรงคลิน รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาปนิกสร้างความสมดุลระหว่างรูปแบบและด้านหน้าที่เรียบคมสง่างาม กับการตกแต่งภายในที่ดูมีสีสันขี้เล่น เพื่อให้เหมาะสำหรับครอบครัวส่วนตัวที่หลงใหลในดนตรีและโรงละคร โดยการออกแบบของบ้านได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบคลาสสิกของฟาร์มในชนบทของมิชิแกน ซึ่งเป็นโครงสร้างหลังคาทรงจั่วที่ถ่ายทอดมาหลายชั่วอายุคน ให้ออกมาทันสมัยแบบบ้านนอร์ดิกที่กำลังฮิตบ้านต้นไม้

Modern Barn จากโรงนาในชนบทมาสู่บ้านโมเดิร์น

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

รูปแบบที่คุ้นเคยเหล่านี้เชื่อมโยงบ้านเข้ากับบริบททางประวัติศาสตร์ แต่ได้รับการถ่ายทอดด้วยเทคนิคการก่อสร้างและวัสดุสมัยใหม่และรายละเอียดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ด้านนอกใช้ไม้ซีดาร์ลายไม้แนวตั้ง หลังคาแต่ละหลังเป็นเมทัลชีทสีดำ สีที่แตกต่างและเส้นที่คมชัดเน้นให้เห็นความสูงและความสว่าง ในส่วนด้านบ้านที่ต่ำและกว้างถูกหุ้มด้วยแผงไฟเบอร์ซีเมนต์ความหนาแน่นสูง การเรียงตัวอาคารสลับแนวตั้งกับแนวนอน ผลรวมที่ได้นอกจากช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็สนุกกับการเดินข้ามจากอาคารหลังหนึ่งไปอีกหลังที่พักป่าตอง

อาคารแผ่นไม้ซีดาร์มีส่วนทำให้บ้านดูผสานเข้ากับภูมิทัศน์ หลังคาแบนเหนือโถงทางเดินกระจกที่เชื่อมถึงกันยังปูด้วยหญ้าพื้นเมืองด้วย ทุกครั้งที่เดินผ่านจึงไม่รู้สึกร้อน หากสังเกตจากภาพถ่าย Bird eye’s view จะเห็นว่าการจัดตำแหน่งบ้านจะพยายามรบกวนต้นไม้น้อยที่สุด โดยเฉพาะต้น American Elm อายุกว่า 100ปี และต้น Climbing Hydrangea แต่ละโซนได้รับการจัดวางอย่างระมัดระวังโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ลมที่พัดแรง มุมแสงแดดตามฤดูกาล และความสมดุลของความเป็นส่วนตัวและมุมมอง เพื่อการปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างรูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัย การตกแต่งภายในที่อบอุ่น และธรรมชาติโดยรอบ

ฟังก์ชั่นของบ้านถูกแยกออกเป็นสี่อาคารที่แตกต่างกัน เพื่อให้แยกระหว่างโซนส่วนตัวและส่วนรวมอย่างชัดเจน ได้แก่ 1) ห้องชุดห้องนอนหลัก 2) พื้นที่การใช้ชีวิตและความบันเทิง 3) พื้นที่ครอบครัวส่วนตัว และ 4) โรงจอดรถ โดยพาวิลเลียนที่ยาวที่สุด (นั่งเล่นและเอนเตอร์เทนนิ่ง) จะอยู่ตรงกลางทอดยาวจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านของที่พักแบบไม่ขาดตอน โดยมีกระจกบานใหญ่ที่หันไปทางพื้นที่ชุ่มน้ำด้านหลัง

ในอาคารใช้งานสาธารณะตรงกลาง เป็นเหมือนศูนย์กลางที่ทุกคนจะเข้ามาใช้ชีวิตร่วมกัน ถูกออกแบบให้เป็นเหมือนห้องโถงยาวหลังคาจั่วสูงตีฝ้าเพดานตามแนวหลังคา โชว์เส้นสายของเหล็กสีดำตกแต่งที่ทำให้รู้สึกถึงพื้นที่จากพื้นถึงเพดานที่ชัดเจนขึ้น ปลายด้านหนึ่งเป็นห้องนั่งเล่น โต๊ะทานข้าว มีเตาไฟที่หุ้มด้วยไม้ซีดาร์ย้อมสีน้ำตาลเข้มและเหล็กทำสีดำ และตรงข้ามกันคือห้องครัวที่มีตกแต่งด้วยไม้วอลนัท เคาน์เตอร์สแตนเลส ผนังกันเปื้อนลายหิน ข้างๆ มีแผงผนังทายูรีเทนสีเขียวมรกต

บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น

ด้านหนึ่งของตัวบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจากถนนจะทำผนังทึบมีช่องแสงแนวนอนในมุมสูง เน้นเพื่อรับแสงไม่ได้เน้นเปิดมุมมอง ส่วนของผนังยังสร้างประโยชน์ได้ด้วยการบิลท์ม้านั่งและชั้นวางเป็นการใช้ประโยชน์จากส่วนประกอบของบ้านได้สูงสุด ในอีกด้านของบ้านที่เชื่อมต่อกับสวน สระว่ายน้ำ จะเป็นประตูกระจกตลอดทั้งแนว เชื่อมต่อพื้นที่ชีวิตภายนอกภายในให้เหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของบุคคลภายนอก

จากส่วนนี้เราจะเห็นว่าภายในบ้านมีการใช้ทั้งชุดสีที่เชื่อมต่อกับธรรมชาติ อย่างสีของไม้ต่างชนิด สีของผนัง แต่ก็จะมีส่วนผสมของสีสันเข้ามาเพิ่มความมีชีวิตชีวา เช่น ผ้าม่านโทนสีนำเงินและสีเขียวเหลือบสลับสีอ่อน พรมปูพื้นสีขาวดำ ผนังตกแต่งกรอบรูป Abstract Art ที่ทำให้รู้สึกว่าบ้านสไตล์โรงนาไม่ได้ดูจืดชืดหรือต้องตกแต่งด้วยความรู้สึกแบบชุมชนเกษตรกรรมเท่านั้น

เติมความน่าสนุกขึ้นอีกขั้นด้วยการใช้พรมสีรุ้งผืนใหญ่บนพื้นข้างหน้าต่าง และตรงบันไดขึ้นสู่ชั้นสอง ในห้องน้ำใหญ่ยังเต็มไปด้วยกระเบื้องรูปห้าเหลี่ยมโทนสีเขียวใบไม้ทั้งพื้นและผนัง ขณะที่กำลังอาบน้ำจะรู้สึกเหมือนกำลังถูกโอบล้อมด้วยต้นไม้ที่เขียวชอุ่มรอบตัว

แม้จะตกแต่งบ้านด้วยความสนุกของสีสัน แต่ถ้ามากเกินไปจะรู้สึกไม่สบายตา สถาปนิกจึงมีจังหวะเบรคความรู้สึกอยู่ด้วย เช่น ในมุมนั่งเล่นนอนเล่นพักผ่อนริมหน้าต่างที่ใช้ชุดสีกลางๆ อ่อน ๆ ให้เหมาะกับบรรยากาศของความผ่อนคลาย และห้องน้ำโทนสีขาวตัดเส้นสีดำ สร้างสมดุลของบ้านที่มีครบทุกอารมณ์ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป

บ้านโรงนา รูปแบบใหม่ของบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น

Modern Barn

สาเหตุที่ทางฝั่งต่างประเทศนิยมซื้อโรงนาเก่ามารีโนเวทใหม่ให้เป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น เนื่องจากง่ายต่อการตกแต่งอย่างมาก แถมยังใช้งบประมาณค่อนข้างน้อย ที่สำคัญด้วยเอกลักษณ์ที่มีเพดานสูง พร้อมเปิดโล่งให้เห็นคานไม้ คล้ายคลึงกับสไตล์ Loft นั้น ทำให้เพิ่มความหรูหราให้กับบ้าน

ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วแบบบ้านสไตล์ดังกล่าว ผู้อยู่อาศัยมักเลือกของตกแต่งที่ทำจากไม้ และมีกลิ่นอายโมเดิร์น เพื่อให้เข้ากับตัวบ้าน เรียกได้ว่าเป็นไอเดียสุดว้าวเลยทีเดียว

ข้อดี-ข้อเสียของการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์น

เนื่องจากการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์นนั้นจะมีการผสมผสานเอกลักษณ์ดั้งเดิมกับโมเดิร์นเข้าด้วยกัน ดังนั้นเมื่อคิดที่จะปลูกบ้านดังกล่าว จึงควรรู้ถึงข้อดี ข้อเสีย เพื่อทำความเข้าใจกับบ้าน จะได้ดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

Modern Barn

ข้อดีของการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นแบบบ้านโมเดิร์น

1. เป็นบ้านที่ทำจากวัสดุไม้ จึงทำให้ตัวบ้านเย็น มีความแข็งแรง

2. หลังคาทรงจั่วทำให้บ้านดูโปร่งมากขึ้น ถ่ายเทอากาศได้ดี

3. ผนังอิฐ เฟอร์นิเจอร์ไม้ รวมถึงคานเปิดโล่ง ทำให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสถึงความอบอุ่นในบ้าน

ข้อเสียของการนำโรงนามาดัดแปลงเป็นแบบบ้านโมเดิร์น

1. เมื่อวัสดุทั้งหมดเป็นไม้ ดังนั้นจึงควรฉีดปลวก และป้องกันแมลงมากเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้ไม้ผุ สึกกร่อนได้ และนั่นจะนำไปสู่ปัญหาใหญ่ตามมา

2. เมื่อทำการต่อเติมเพิ่ม จะเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นวัสดุไม้ ซึ่งมีราคาแพงกว่าปกติ

3. ไม่เหมาะกับพื้นที่ราบลุ่ม เสี่ยงต่อการน้ำท่วมอย่างมาก

เรียกได้ว่าเป็นไอเดียแบบบ้านใหม่ ที่ถูกใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังต้องการซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน และมีเรื่องดีไซน์เป็นตัวประกอบหลักของการตัดสินใจ แม้เมืองไทยจะพบเห็นน้อย แต่อาจจะมีบ้างตามโซนต่างจังหวัด แต่ถึงกระนั้นก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างบ้านในฝันได้ รับรองว่าเก๋ไก๋ ไม่เหมือนใครแน่นอน