ทาวน์เฮาส์แฝด
ทาวน์เฮาส์แฝด

การมีบ้าน ที่เหมาะกับตนเองนั้นหายาก วันนี้ villagesale.live ขอแนะนำ ทาวน์เฮาส์แฝด ทาวน์เฮ้าส์ คือ บ้านแถวหรือตึกแถวที่มีหน้าตาและรูปแบบการออกแบบเหมือนกัน ตัวบ้านอยู่ชิดติดกันเป็นแถบตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป ความสูงไม่เกิน 3 ชั้น ส่วนใหญ่แล้วมักสร้างเป็นบ้านแถว 2 ชั้น มีกำแพงกั้นระหว่างบ้านเท่านั้น ไม่ได้มีรั้วแยกอาณาเขตบ้านแต่ละหลังอย่างชัดเจน
แน่นอนว่าพื้นที่หรือบริเวณภายในตัวบ้านค่อนข้างเล็กและจำกัด พื้นที่ใช้สอยพอประมาณ เช่น 2 ห้องน้ำ 3 ห้องนอน 1 ห้องครัว พื้นที่พอเลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้บ้าง
ส่วนใหญ่จะมีระยะห่างระหว่างบ้านแต่ละหลังน้อย เนื่องจากไม่มีรั้วกั้น ส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวค่อนข้างน้อยตามไปด้วย เมื่อพูดถึงเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวก ต้องบอกว่าทาวน์เฮ้าส์ไม่มีส่วนกลาง หรือคลับเฮ้าส์ที่ใช้ร่วมกันเหมือนโครงการบ้านจัดสรรอื่น ๆ
สำหรับสองครอบครัว พรางตาให้ดูเป็นหลังเดียวบนถนนที่อยู่ทาวน์เฮาส์อาศัยอันเงียบสงบในย่านชานเมืองของเมลเบิร์น Thornbury เป็นโครงการทาวน์เฮาส์ที่ผุดขึ้นท่ามกลางบ้านอิฐสีแดงและสีครีม เป็นอาคารใหม่ที่ใช้วัสดุ สี และรูปทรงที่เรียบง่ายแต่กลับโดดเด่นสะดุดตา แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ
บ้าน นี้เป็นทาวน์เฮาส์แฝดที่ไม่สังเกตดี ๆ ก็ไม่รู้ว่ามี 2 หลัง สำหรับเจ้าของบ้านนี้เป็นครอบครัวเดียวกันสองเจเนอเรชัน ครอบครัวแรกเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุ และอีกหนึ่งครอบครัวที่มีลูกเล็ก ทั้งสองกลุ่มร่วมมือกันจัดทำบทสรุปร่วมกันที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของพวกเขา แล้วนำมาทำซ้ำแผนเดียวกันในแปลนของตัวเองได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือบ้านที่มีชิ้นส่วนแบบธรรมดาแต่สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นให้เหมาะกับการใช้งานได้
ทาวน์เฮาส์สไตล์โมเดิร์น

บนถนนที่อยู่ทาวน์เฮาส์อาศัยอันเงียบสงบในย่านชานเมืองของเมลเบิร์น Thornbury เป็นโครงการทาวน์เฮาส์ที่ผุดขึ้นท่ามกลางบ้านอิฐสีแดงและสีครีม เป็นอาคารใหม่ที่ใช้วัสดุ สี และรูปทรงที่เรียบง่ายแต่กลับโดดเด่นสะดุดตา แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ บ้านนี้เป็นทาวน์เฮาส์แฝดที่ไม่สังเกตดี ๆ ก็ไม่รู้ว่ามี 2 หลัง
สำหรับเจ้าของบ้านนี้เป็นครอบครัวเดียวกันสองเจเนอเรชัน ครอบครัวแรกเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุ และอีกหนึ่งครอบครัวที่มีลูกเล็ก ทั้งสองกลุ่มร่วมมือกันจัดทำบทสรุปร่วมกันที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของพวกเขา แล้วนำมาทำซ้ำแผนเดียวกันในแปลนของตัวเองได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือบ้านที่มีชิ้นส่วนแบบธรรมดาแต่สามารถปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นให้เหมาะกับการใช้งานได้
ทาวน์เฮาส์สำหรับผู้เข้าพักเป็นคู่ (Dual Occupancy) หรือบ้านแฝดที่อยู่สองครอบครัวในหลังเดียว เป็นเรื่องปกติในเขตชานเมืองชั้นในตอนเหนือของเมลเบิร์น หลายหลังขาดระเบียบทางสถาปัตยกรรมที่ชัดเจน แต่ทาวน์เฮาส์ Thornbury ของ Fowler ต่างออกไปเพราะที่นี่นอกจากจะมีเส้นสายที่ผ่านการคิดมาแล้ว มีวัสดุที่จับต้องได้ไม่แพงอย่างเมทัลชีท ไม้ อิฐ และเพิ่มฟาซาดให้ความความเป็นส่วนตัว ภายในยังแบ่งสัดส่วนการใช้งานและมีส่วนที่ใช้งานแบบโปร่งโล่งสบายๆ
ภาพรวมของบ้านดูง่าย ๆ แต่ถ้ามองภาพใกล้ ๆ จะเห็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้บ้านมีหลายอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็น สวนโล่ง ๆ ที่ทางเข้า ปูด้วยแผ่นหินกลางพื้นทรายที่นำสายตาเข้ามาคู่กัน 2ด้าน กรอบบ้านเป็นคอนกรีตพ่นทรายหยาบๆ ที่มีส่วนลึกรองรับรูปแบบหน้าจั่วสีขาวที่คมชัดด้านบน
ที่ชั้นล่างยังมีประตูไม้สีน้ำตาลอันอบอุ่นเผยให้เห็นส่วนความลึกเข้าไป ต้นไม้ใบหญ้าที่ตกแต่งบ้านเสริมแนวสถาปัตยกรรม ส่วนองค์ประกอบของอาคารอย่างกรอบบ้านที่ยาวเป็นกรอบเดียว ผนังกระจกที่แทรกอยู่ ทำให้ยากต่อการพิจารณาในทันทีว่านี่คือบ้านหนึ่งหรือสองหลัง

แต่ละบ้านจะมีทางเข้าและบันไดแยกกันเป็นคนละคูหา ด้านหน้าที่ติดถนนหันไปทางทิศเหนือ ซึ่งให้แสงที่มีคุณภาพในช่วงเช้า สิ่งที่เป็นข้อพิจารณาหลัก คือการพยายามนำแสงทางทิศนี้มาสู่พื้นที่อยู่อาศัย นักออกแบบจึงใส่ผนังกระจกใสขนาดใหญ่ด้านล่าง หลังคาที่มีความแหลมสูงชันเหนือห้องนั่งเล่นชั้นบนก็มีจังหวะของช่องแสงทางทิศเหนือเช่นกัน สำหรับชั้นล่างมีส่วนที่เจาะพื้นที่สูงสองเท่าโปร่ง ๆ
ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างชั้นทำให้การปฏิสัมพันธ์กันง่ายขึ้น และช่วยระบายอากาศพร้อมกระจายแสงเข้าสู่ตัวบ้าน ในจุดต่ำของหลังคาจั่วแหลมจะติดกับลานด้านหลัง ให้มุมมองที่ดูต่ำช่วยลดผลกระทบต่อภาพที่มีต่อบ้านที่อยู่ใกล้เคียงผนังสีขาว ไม้สีน้ำตาล กระจกใส เป็นสามสิ่งที่แม้จะไม่มีรายละเอียดความหรูหรา แต่เมื่อจับมาอยู่ด้วยกันแล้วรู้สึกว่าอิ่มครบไม่ขาดไม่เกิน
พื้นที่ใช้สอยหลักในบ้านพยายามจับแสงเหนือผ่านหน้าต่าง และช่องแสงทั้งแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อให้แสงแดดส่องถึงโดยตรง ทำให้ได้ประโยชน์จากมวลความร้อนในช่วงหน้าหนาวด้วย ความใสของกระจกยังช่วยเปิดมุมมองให้เห็นวิว พร้อม ๆ กับสร้างความรู้สึกโปร่งเบาให้บ้านดูกว้างขึ้น มีอิสระทางสายตาและพื้นที่มากขึ้นการตกแต่งใช้วัสดุจากธรรมชาติ อาทิ ไม้ หินขัด อิฐ โทนสีอ่อนๆ มีความเป็นเอิร์ธโทน อย่างเช่น สีชานม สีเขียวหัวเป็ด เฟอร์นิเจอร์เลือกน้อยชิ้นเท่าที่จำเป็น รูปลักษณ์ดีไซน์เรขาคณิต บางชิ้นเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง มุมมมน ที่ทำให้บรรยากาศโดยรวมดูผ่อนคลายสบายตา
สถาปนิกพยายามจัดฟังก์ชันเอาไว้ที่ด้านหนึ่งของบ้าน แล้วจัดให้มีที่ว่างสำหรับทำเป็นโถงบันไดเชื่อมต่อระหว่างชั้นข้างๆ โดยใส่ช่องแสงในพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ให้บ้านมีความสว่างในระหว่างขึ้นลงบันไดและมีช่องแสง skylight ในบางจุด วิธีนี้ทำให้บ้านที่มีผนังติด ๆ กันไม่ขาดแสงธรรมชาติภายใน

นอกจากการออกแบบฟังก์ชันแล้ว สิ่งที่ซ่อนอยู่ในบ้านนี้ด้วยคือ “ความยั่งยืน” ที่เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการออกแบบ และไม่ใช่สิ่งที่นำมาใช้ในภายหลังเพื่อเป็นส่วนเสริม จากความคิดนี้ทำให้สถาปนิกรวมการดีไซน์บ้านเข้ากับการออกแบบพลังงานไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการวางแนวแสงอาทิตย์
ตำแหน่งของมวลความร้อน ฉนวนกันร้อนกันหนาว ตำแหน่งและขนาดของประตูหน้าต่าง ระบบกักเก็บน้ำ และวัสดุ ทั้งหมดเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ และแต่ละส่วนเหล่านี้มีความสำคัญต่อการสร้างบ้านที่ยั่งยืนในเมืองไทยทาวน์โฮม ตามกฎหมายจะต้องมีลักษณะดังนี้ คือ หน้ากว้างอย่างต่ำ 4 เมตร มีพื้นที่ว่างด้านหน้า
ระหว่างแนวรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังบ้าน กว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร มีพื้นที่ว่างด้านหลังไม่น้อยกว่า 2 เมตร หากมีทาวน์โฮมกว้าง 4 เมตร ติดกัน 10 หลัง ต้องมีระยะห่างเว้นว่าง 4 เมตร ข้อดีของทาวน์โฮมคือ อยู่ในช่วงราคาที่คนส่วนใหญ่เอื้อมถึงได้ ส่วนข้อด้อย เช่น ความเป็นส่วนตัวน้อยกว่า การต้องใช้รั้วและกำแพงร่วมกับเพื่อนบ้านอาจทำให้เกิดปํญหา และมักเกิดปัยหาขาดแสงภายใน จึงต้องจัดการเรื่องแสงและการระบายอากาศให้ดี

ใครกำลังอยากซื้อที่อยู่อาศัย อาจกำลังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะซื้อบ้าน คอนโด หรือทาวน์เฮ้าส์ดี เพราะข้อแตกต่างรวมถึงข้อดีข้อเสียของที่อยู่อาศัยเหล่านี้ก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าที่อยู่อาศัยแบบไหนจะตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ๆ ได้มากที่สุด แต่ถ้าตอนนี้กำลังเล็งทาวน์เฮาส์ดี ๆ สักหลังอยู่ ลองมาดูข้อดีของการอยู่ทาวน์เฮ้าส์เอาไว้เสริมความมั่นใจอีกสักทีดีไหมคะ
1. มีเพื่อนบ้านคอยช่วยเหลือ
การอยู่ทาวน์เฮ้าส์จะทำให้คุณมีเพื่อนบ้านใกล้เคียงแบบชิดเชื้อสุด ๆ ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ด้วย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุหรือกรณีฉุกเฉินขึ้นมา โดยที่ไม่มีสมาชิกคนอื่นในครอบครัวอยู่บ้านเลยสักคน เพื่อนบ้านจะเป็นที่พึ่งที่ดีที่สุดในยามคับขันอย่างนี้ อีกทั้งเวลาที่คุณยกครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือมีเหตุต้องทิ้งบ้านเป็นเวลาหลายวัน ก็ยังมีเพื่อนบ้านคอยเป็นหูเป็นตาให้อยู่ตลอด
2. อบอุ่นและปลอดภัย
นอกจากเราจะมีเพื่อนบ้านใกล้เคียงไว้พึ่งพาแล้ว การที่มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในอาคารถัด ๆ ไปจากเรายังช่วยให้สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ทาวน์เฮ้าส์ดูคึกคัก ไม่เปลี่ยวจนน่ากลัวจะเกิดเหตุร้ายที่มักเกิดในที่ลับหูลับตาคน ซึ่งก็น่าจะหายห่วงเรื่องความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่งเหมือนกัน โดยเฉพาะหากเพื่อนบ้านรอบ ๆ ด้านมีความเป็นมิตรและเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
3. พื้นที่ใช้สอยเหมาะสม ในราคาเอื้อมไหว
ทาวน์เฮ้าส์จัดอยู่ในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาไม่สูงมาก แต่กลับมีพื้นที่ใช้สอยเหมาะกับครอบครัวเล็ก ๆ พอสมควร ทั้งห้องนอนประมาณ 2-3 ห้อง ห้องนั่งเล่น ส่วนครัว และพื้นที่หน้าบ้านเล็กน้อยให้พอจอดรถ หรือจัดสวนขนาดย่อม ซึ่งหากเทียบกับราคาบ้านเดี่ยวแล้วคงต่างกันไม่ใช่ย่อย ดังนั้นทาวน์เฮ้าส์ก็น่าจะตอบโจทย์คนที่รายได้ไม่มากนักแต่ต้องการซื้อบ้านมากกว่าคอนโดนั่นเอง
4. ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน มีสิ่งอำนวยความสะดวก
เหตุผลหลัก ๆ ที่จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกอยู่ที่ไหนสักแห่งคงหนีไม่พ้นเรื่องทำเลแน่นอน ซึ่งทาวน์เฮ้าส์ส่วนมากก็มักจะตั้งอยู่ในแถบชุมชน มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือบางทีอาจจะอยู่ใกล้สวนสาธารณะ ตลาดสด รวมทั้งห้างสรรพสินค้าสักแห่ง ไปไหนมาไหนสะดวกสบายไม่น้อยเลย ซึ่งถ้าในทำเลเดียวกันแต่เป็นบ้านเดี่ยวก็อาจจะราคาสูงจนสู้ไม่ไหว
5. ประหยัดค่าบำรุงรักษา ดูแลง่าย
บ้านยิ่งใหญ่ พื้นที่ยิ่งกว้างก็ย่อมต้องดูแลรักษาสภาพแวดล้อมรวมทั้งภูมิทัศน์รอบ ๆ บ้านมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจุดนี้คงต้องใช้ค่าใช้จ่ายพอสมควรเลยนะคะ แต่หากเป็นทาวน์เฮ้าส์ นอกจากโครงสร้างอาคารแล้ว ก็มีส่วนหน้าบ้านอีกเล็กน้อยให้ดูแล ไม่เหมือนคอนโดที่มีแค่ระเบียงเล็ก ๆ และสำหรับคนที่อยากมีสวนขนาดย่อมแบบพอหอมปากหอมคอ จัดส่วนหย่อมหน้าบ้านทาวน์เฮ้าส์พอให้ชุ่มชื่นก็เก๋ดีเหมือนกัน แถมยังดูแลรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายเบากว่าบ้านเดี่ยวอีกด้วย